TECH INFO

Cleanrooms Cleanliness Classification

7/7/2565

Cleanrooms Cleanliness Classification

Cleanroom หรือ ห้องสะอาด คือห้องหรือพื้นที่ที่มีการออกแบบและควบคุมปริมาณอนุภาค ฝุ่นละอองและสิ่งปนเปื้อนในอากาศขนาดต่างๆ ให้อยู่ในระดับที่ไม่เกินมาตรฐานที่กำหนด และจะต้องมีการเฝ้าระวังโดยการตรวจติดตามระดับความสะอาดให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดตลอดระยะเวลาการใช้งาน นอกจากนี้ยังมีการควบคุมปัจจัยอื่นๆ ตามที่ได้กำหนดไว้ เช่น อุณหภูมิ ความชื้นและความดัน

 

นิยามของห้องสะอาด (Cleanroom Definition)

Federal Standard 209E - A room in which the concentration of airborne particles is controlled and which contains one or more clean zones.

ISO14644 - room in which the concentration of airborne particles is controlled, and which is constructed and used in a manner to minimize the introduction, generation and retention of particles inside the room, and in which other relevant parameters, e.g. temperature, humidity, and pressure, are controlled as necessary.

สมาคมวิศวกรรมปรับอากาศแห่งประเทศไทย (2521) ได้ให้ความหมายของ “ห้องสะอาด” ว่าหมายถึงห้องหรือบริเวณปิดที่มีการควบคุมสภาพแวดล้อมภายในห้องได้แก่ อนุภาคสิ่งเจือปน อุณหภูมิ ความดันอากาศ ความชื้น รูปแบบการไหลของอากาศ การสั่นสะเทือน แสงสว่าง และสิ่งมีชีวิตจำพวกจุลินทรีย์

 

Cleanroom หรือห้องสะอาดได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในหลายด้านได้แก่

QV Test is an independent ISO 9001 Registered and NEBB Certified Firm that specializes in

  1. อุตสาหกรรมไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (Microelectronics) ระบบห้องสะอาดเป็นปัจจัยสนับสนุนพื้นฐานที่ทำให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างที่ละเอียดมากขึ้นได้ และช่วยให้การต่อประกอบอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. อุตสาหกรรมใยแก้วนำแสง (Optical fiber) สำหรับใช้ในการโทรคมนาคม ซึ่งมีความต้องการใช้ใยแก้่ว (Glass fiber) ที่มีความบริสุทธิ์สูงและพื้นผิวไม่มีรอยขีดข่วนเลย
  3. อุตสาหกรรมการผลิตแผ่นดิสก์ (Compact disc) ซึ่งได้เข้ามามีบทบาทแทนการเก็บบันทึกแบบเก่า
  4. นำมาใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมนาโนอิเล็กทรอนิกส์ (Nanoelectronics)
  5. อุตสาหกรรมผลิตยา (Pharmaceutical industry) และเครื่องมือแพทย์ (Medical devices) ระบบห้องสะอาดทำให้กระบวนการผลิตมีคุณภาพ และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
  6. ระบบห้องสะอาดช่วยให้การรักษาโรคมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะห้องศัลยกรรมที่ต้องการความสะอาดเป็นพิเศษ เช่น ศัลยกรรมหัวใจ ไต กระดูก ห้อง ICU สำหรับบาดแผลที่ถูกเผาไหม้สาหัส ห้องผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น
  7. ระบบห้องสะอาดถูกนำมาให้สำหรับห้องปฏิบัติการ ห้องวิจัยต่างๆ (Laboratory) ที่ต้องการความสะอาดสูง เช่น ห้องวิจัยเชื้อ ห้องวิจัยด้าน stem cell ห้องสอบเทียบมาตรฐานต่างๆ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีการนำความรู้ด้านระบบห้องสะอาดมาใช้ประโยชน์สำหรับงานหลายๆ ด้านเช่น การนำไปใช้ในอุตสาหกรรมการพ่นสี อุตสาหกรรมผลิตเลนส์ อุตสาหกรรมอวกาศ อุตสาหกรรมสารเคมี อุตสาหกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ โรงไฟฟ้า ห้องที่ใช้สำหรับเลี้ยงทดลองต่างๆ เป็นต้น